ครม.สัญจรอุบล-อำนาจเจริญ อนุมัติบูมอีสานล่างหมื่นล้าน สร้างเส้นทางคมนาคมทุกมิติ

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 5/2561 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษและยโสธร ว่า ครม.สัญจรมีมติเห็นชอบมีมติเห็นชอบโครงการที่การประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 เสนอ ราว 1 หมื่นล้านบาท ดังนี้ 1.การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็นการขยายถนนเป็น 4 ช่องทาง 12 สาย ได้แก่
1.ทางหลวงหมายเลข 2169 ยโสธร-เลิงนกทา 2.ทางหลวงหมายเลข 2083 และ 2351 มหาชนะชัย-ค้อวัง-ยางชุมน้อย 3.ทางหลวงหมายเลข 202 ตอนสะพานคลองลำเซ-ปทุมราชวงศา ระยะทาง 15 กม. และทางหลวงหมายเลข 202 ยโสธร-อำนาจเจริญ ระยะทาง 31.925 กม. 4.ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลฯ ฝั่งตะวันออก ทางหลวงหมายเลข 231
5.ทางหลวงหมายเลข 2178 วารินชำราบ-กันทรลักษ์ 6.ทางหลวงหมายเลข 292 ทางเลี่ยงเมืองยโสธร 7.ขยายผิวจราจรสาย อจ.3022 แยก ทล.212 บ้านพุทธอุทยาน จ.อำนาจเจริญ ระยะทาง 4.22 กม. 8.ศึกษาการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี 9.ศึกษาการก่อสร้างถนนเชื่อมสนามบินอุบลราชธานี ระยะทาง 2.518 กม. 10.ทางหลวงหมายเลข 220 ตอนวังหิน-ขุขันธ์ 11.ทำเกาะกลางทางหลวงหมายเลข 2050 อุบลฯ-ตระการพืชผล และ 12.เร่งรัดถนนวงแหวนด้านทิศเหนือ จ.ศรีสะเกษ ระยะทาง 15 กม.
2.โครงข่ายคมนาคมทางอากาศ ได้แก่ เร่งรัดขยายสนามบินนานาชาติอุบลราชธานีให้เร็วขึ้น จากเดิมกำหนดแล้วเสร็จในปี 2565 ประกอบด้วย 1.ลานจอดเครื่องบินเพื่อรองรับเที่ยวบินเพิ่มขึ้น อาทิ รองรับเครื่องโบอิ้ง 737 จาก 5 ลำ เป็น 10 ลำ 2.สะพานเทียบพร้อมส่วนต่อเติม 2 ตัว 3.อาคารจอดรถยนต์ 4 ชั้น 4.ปรับปรุงต่อเติมร้านค้า 5.ปรับปรุงต่อเติมอาคารที่พักผู้โดยสาร 6.จุดตรวจรถยนต์และบุคคล และเร่งรัดศึกษาสนามบินมุกดาหารและสนามบินเลิงนกทาเพื่อลดความหนาแน่นของสนามบินอุบลราชธานี
3.โครงข่ายคมนาคมทางราง ได้แก่ 1.เร่งรัดศึกษาโครงการรถไฟทางคู่วารินชำราบ – ช่องเม็ก อุบลราชธานี 2.เร่งรัดศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการรถไฟจากสถานีวารินชำราบ – อำนาจเจริญ – เลิงนกทา เชื่อมโครงการรถไฟทางคู่บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม
4.การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 40 โครงการ และเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย จำนวน 5 โครงการ แบ่งแอกเป็น แก้มลิง 20 โครงการ อาคารบังคับน้ำ 8 โครงการ ฝาย 3 โครงการ สูบน้ำด้วยโซลาร์เซลล์ 3 โครงการ ระบบส่งน้ำและกระจายน้ำ 2 โครงการ ประตูระบายน้ำ 4 โครงการ ระบบระบายน้ำและบริหารจัดการน้ำ 1 โครงการ
ขอให้ศึกษาความเหมาะสม 5 โครงการ ได้แก่ 1.ทางผันน้ำฝั่งขวาลำน้ำมูล จ.อุบลราชธานี 2.ลำน้ำยังและลำน้ำชีตอนล่าง (ร้อยเอ็ด-ยโสธร) 3.เพิ่มพื้นที่ชลประทานลำเซบาย 4.เพื่อพื้นที่ชลประทานลำเซบก และ 5.การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนยโสธร
5.การยกระดับการผลิต 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการก่อสร้างโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) ด้านอาหารเพื่อแปรรูปสินค้าเกษตร 3 ประเภท คือ เนื้อสัตว์ เครื่องดื่มและเครื่องสำอาง 2.อาคารวิจัยและพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร 3.ยกระดับให้เป็นกลุ่มคลัสเตอร์ต้นแบบด้านเกษตรอินทรีย์
6.ด้านคุณภาพชีวิต 4 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการเพิ่มศักยภาพให้บริการของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 2.ขอรับการสนับสนุนและยกระดับศูนย์การแพทย์แผนไทย-พนาเป็นศูนย์การแพทย์ครบวงจรบริการคลินิกแพทย์แผนไทยและยกระดับเป็นศูนย์ศึกษาพัฒนาคุณภาพด้านการแพทย์แผนไทย 3.ขอรับการสนับสนุนครุภัณฑ์ในการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดมและที่ดินของมณฑลทหารบกที่ 22 จำนวน 200 ไร่
7.ด้านการท่องเที่ยว ขอรับการสนับสนุนโครงข่ายคมนาคมทางถนนรองรับการท่องเที่ยว จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.เส้นทางหลวง หมายเลข 217 วารินชำราย-ช่องเม็ก ทำเป็นเกาะกลางถนนตลอดสาย 2.เส้นทางหลวง หมายเลข 221 ตอน ศรีษะเกษ-ภูเงิน-กันทรลักษ์-เขาพระวิหาร 50 กม. ขยายเป็น 4 ช่องจราจรตลอดสาย 3.เส้นทาง 2112+2222 เขมราฐ-โขงเจียม-พิบูลย์มังสาหาร ขยายความกว้างถนนและไหล่ทางตลอดสาย
Axact

Axact

Vestibulum bibendum felis sit amet dolor auctor molestie. In dignissim eget nibh id dapibus. Fusce et suscipit orci. Aliquam sit amet urna lorem. Duis eu imperdiet nunc, non imperdiet libero.

Post A Comment: