"โมโหหิว" ไม่ใช่มโน!! เป็นเพราะระบบในร่างกาย


ผลวิจัยชี้ว่าอาการ 'โมโหหิว' หรือหงุดหงิดเพราะไม่ได้รับประทานอาหาร ไม่ได้เป็นเพราะคิดไปเอง แต่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่งผลให้เกิดความเครียด-อารมณ์แปรปรวน
คณะนักวิจัยในแคนาดาเผยแพร่งานวิจัยลงในวารสารด้านจิตวิทยา Psychopharmacology เมื่อวันที่ 28 ก.ย. โดยระบุว่า ผู้ที่ยังไม่ได้รับประทานอาหารและรู้สึกหิว เกิดจากร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่งผลกระทบทางอารมณ์และก่อให้เกิดความเครียด พร้อมระบุว่า 'โมโหหิว' เป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการทำงานของระบบภายในร่างกาย ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์
ศาสตราจารย์ฟรานเซสโก เลรี แห่งมหาวิทยาลัยเกวลฟ์ในแคนาดา เปิดเผยว่าคณะนักวิจัยได้พิสูจน์สมมติฐานด้วยการฉีดสารต่อต้านการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสให้แก่หนูทดลอง ทำให้หนูเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ใกล้เคียงกับภาวะที่ร่างกายต้องการอาหาร หรืออาการหิว และพบว่าหนูทดลองมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ส่วนผลตรวจเลือดหลังจากนั้นยังพบว่า หนูทดลองที่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีฮอร์โมน 'คอร์ติซอล' ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเครียด 'สูงกว่าปกติ' แต่เมื่อฉีดน้ำเปล่าและยาคลายเครียดให้ พบว่าหนูทดลองมีอาการสงบมากขึ้น
ที่ผ่านมา งานวิจัยจำนวนมากตั้งข้อสันนิษฐานว่าภาวะเครียดและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นอาการทางจิตใจ และขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบตัว แต่การทดลองในครั้งนี้กลับบ่งชี้ว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งเกิดจากการทำงานของระบบในร่างกาย ส่งผลให้คนมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่แตกต่างจากปกติได้ เช่น บางรายอาจหงุดหงิดหรือโมโห แต่บางรายอาจรู้สึกหมดแรงและขี้เกียจ 
นอกจากนี้ เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ merriam-webster ซึ่งเป็นบริษัทจัดทำพจนานุกรมภาษาอังกฤษรายใหญ่ของโลกได้เพิ่มคำศัพท์ hangry ลงไปในพจนานุกรมที่จะพิมพ์จำหน่ายในปีต่อไป โดยให้คำนิยามว่าเป็นการโมโหหิว หรือหงุดหงิดเพราะหิว ซึ่งเกิดจากการผสมกันระหว่างคำว่า hungry (หิว) และ angry (โกรธ)

ข่าวจาก ว้อยส์ทีวี
Axact

Axact

Vestibulum bibendum felis sit amet dolor auctor molestie. In dignissim eget nibh id dapibus. Fusce et suscipit orci. Aliquam sit amet urna lorem. Duis eu imperdiet nunc, non imperdiet libero.

Post A Comment: