ส่งออก ก.ค.พุ่ง 8.27% โตต่อเนื่อง 17 เดือนติด ส่วนยอดรวม 7 เดือนเพิ่ม 10.57% เผยตลาดส่งออกขยายตัวเกือบหมด ญี่ปุ่น อินเดีย อาเซียน CLMV โต 2 หลัก แต่สหรัฐฯ ลด 1.9% ติดลบครั้งแรกรอบ 21 เดือน เหตุเจอพิษขึ้นภาษี ทำเครื่องซักผ้า แผงโซลาร์เซลล์ เหล็กยอดวูบ ระบุเป้าปีนี้ 8% ทำได้แน่ ส่วนจะปรับตามหน่วยงานอื่นหรือไม่รอลุ้นเดือน ต.ค.นี้
นางสุรีย์พร สหวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือน ก.ค. 2561 มีมูลค่า 20,423.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.27% เป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17 นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2560 การนำเข้ามีมูลค่า 20,940.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.53% และกลับมาขาดดุลการค้า 516.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกรวม 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 146,235.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.57% ขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 ปี การนำเข้ามีมูลค่า 143,296.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.84% และเกินดุลการค้า 2,939.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกในเดือน ก.ค. ตลาดหลักเพิ่มขึ้น 5.4% โดยญี่ปุ่นเพิ่ม 11.7% สหภาพยุโรปเพิ่ม 9% แต่สหรัฐฯ ลดลง 1.9% ติดลบครั้งแรกในรอบ 21 เดือน เพราะสินค้าหลายตัวส่งออกได้ลดลง เช่น กุ้ง ลด 62% จากการไม่มีวัตถุดิบ อาหารทะเลกระป๋อง ลด 23% โทรทัศน์ ลด 44% เครื่องใช้ไฟฟ้า ลด 9.1% เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน แผงโซลาร์เซลล์ ลด 72% เครื่องซักผ้า ลด 21.9% เหล็ก ลด 4.6% ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ในเดือน ส.ค. 2561 จะปรับตัวดีขึ้น เพราะการส่งออกคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ซึ่งมีสัดส่วนถึง 20% ของสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ น่าจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น หลังจากเดือน ก.ค.ลดลง 0.6% และน่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง หลังจากมีการย้ายฐานการผลิตจากมาเลเซียกลับมายังไทย
สำหรับตลาดศักยภาพ เพิ่มขึ้น 15.3% โดยส่วนใหญ่ขยายตัวในระดับ 2 หลัก เช่น อินเดีย เพิ่ม 15% อาเซียน 5 ประเทศ เพิ่ม 26.6% CLMV เพิ่ม 22.6% และจีน เพิ่ม 3.5% และตลาดศักยภาพระดับรองกลับมาขยายตัวเป็นบวก 3.1% จากที่หดตัวในเดือนก่อน โดยส่งออกไปทวีปแอฟริกา ทวีปออสเตรเลีย ละตินอเมริกา และกลุ่มประเทศ CIS เพิ่ม 1.9%, 2.3%, 13.6% และ 15.9% ตามลำดับ แต่ตะวันออกกลางลดลง 9.4%
นางสุรีย์พรกล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่าการส่งออกในปี 2561 จะเติบโตได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 8% โดยดูได้จากการส่งออกยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีจากการที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวชัดเจน เช่น สหรัฐฯ กลุ่มยูโรโซน จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน สินค้าที่มีแนวโน้มส่งออกได้ดี เช่น สินค้าในกลุ่มเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เช่น เคมีภัณฑ์และพลาสติก และการส่งออกยังได้รับผลดีจากเงินบาทอ่อนค่า ทำให้มีรายได้ในรูปเงินบาทสูงขึ้น
“แม้การส่งออกจะเผชิญความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในนโยบายการค้า และความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุนที่อาจกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เพราะไทยได้มีการกระจายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ และตลาดที่มีศักยภาพอื่นๆ ทดแทน ซึ่งช่วยให้การส่งออกปีนี้ขยายตัวได้ตามเป้า แต่ถ้าอยากผลักดันให้ส่งออกโตในระดับ 2 หลัก การส่งออกเดือนที่เหลือต้องทำได้มูลค่าไม่ต่ำกว่า 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนจะปรับเป้าส่งออกเหมือนหน่วยงานอื่นๆ หรือไม่ ต้องรอประเมินอีกครั้งในเดือน ต.ค.นี้” นางสุรีย์พรกล่าว
นางสุรีย์พร สหวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือน ก.ค. 2561 มีมูลค่า 20,423.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.27% เป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17 นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2560 การนำเข้ามีมูลค่า 20,940.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.53% และกลับมาขาดดุลการค้า 516.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกรวม 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 146,235.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.57% ขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 ปี การนำเข้ามีมูลค่า 143,296.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.84% และเกินดุลการค้า 2,939.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกในเดือน ก.ค. ตลาดหลักเพิ่มขึ้น 5.4% โดยญี่ปุ่นเพิ่ม 11.7% สหภาพยุโรปเพิ่ม 9% แต่สหรัฐฯ ลดลง 1.9% ติดลบครั้งแรกในรอบ 21 เดือน เพราะสินค้าหลายตัวส่งออกได้ลดลง เช่น กุ้ง ลด 62% จากการไม่มีวัตถุดิบ อาหารทะเลกระป๋อง ลด 23% โทรทัศน์ ลด 44% เครื่องใช้ไฟฟ้า ลด 9.1% เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน แผงโซลาร์เซลล์ ลด 72% เครื่องซักผ้า ลด 21.9% เหล็ก ลด 4.6% ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ในเดือน ส.ค. 2561 จะปรับตัวดีขึ้น เพราะการส่งออกคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ซึ่งมีสัดส่วนถึง 20% ของสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ น่าจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น หลังจากเดือน ก.ค.ลดลง 0.6% และน่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง หลังจากมีการย้ายฐานการผลิตจากมาเลเซียกลับมายังไทย
สำหรับตลาดศักยภาพ เพิ่มขึ้น 15.3% โดยส่วนใหญ่ขยายตัวในระดับ 2 หลัก เช่น อินเดีย เพิ่ม 15% อาเซียน 5 ประเทศ เพิ่ม 26.6% CLMV เพิ่ม 22.6% และจีน เพิ่ม 3.5% และตลาดศักยภาพระดับรองกลับมาขยายตัวเป็นบวก 3.1% จากที่หดตัวในเดือนก่อน โดยส่งออกไปทวีปแอฟริกา ทวีปออสเตรเลีย ละตินอเมริกา และกลุ่มประเทศ CIS เพิ่ม 1.9%, 2.3%, 13.6% และ 15.9% ตามลำดับ แต่ตะวันออกกลางลดลง 9.4%
นางสุรีย์พรกล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่าการส่งออกในปี 2561 จะเติบโตได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 8% โดยดูได้จากการส่งออกยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดีจากการที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวชัดเจน เช่น สหรัฐฯ กลุ่มยูโรโซน จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน สินค้าที่มีแนวโน้มส่งออกได้ดี เช่น สินค้าในกลุ่มเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เช่น เคมีภัณฑ์และพลาสติก และการส่งออกยังได้รับผลดีจากเงินบาทอ่อนค่า ทำให้มีรายได้ในรูปเงินบาทสูงขึ้น
“แม้การส่งออกจะเผชิญความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในนโยบายการค้า และความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุนที่อาจกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เพราะไทยได้มีการกระจายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ และตลาดที่มีศักยภาพอื่นๆ ทดแทน ซึ่งช่วยให้การส่งออกปีนี้ขยายตัวได้ตามเป้า แต่ถ้าอยากผลักดันให้ส่งออกโตในระดับ 2 หลัก การส่งออกเดือนที่เหลือต้องทำได้มูลค่าไม่ต่ำกว่า 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนจะปรับเป้าส่งออกเหมือนหน่วยงานอื่นๆ หรือไม่ ต้องรอประเมินอีกครั้งในเดือน ต.ค.นี้” นางสุรีย์พรกล่าว
ข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
Post A Comment: