10 ก.ย.61 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) กล่าวภายในงานปาฐกถาการเปิดประชุมวิชาการนานาชาติ International Symposium on Converging Trchnology and Disruptive Communication-Moving Forward ว่า กสทช. กำลังหาแนวทางในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการให้บริการ ทั้งทางด้านโทรคมนาคม (Telecommunication) และการให้บริการด้านการแพร่ภาพ (Broadcasting) เพื่อให้การให้บริการเป็นไปอย่างเสรีและมีความยุติธรรม รวมถึงให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ และที่สำคัญจะต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงและปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้กำหนดให้ กสทช. ทำหน้าที่กำกับดูแลและออกใบอนุญาตให้แก่ทั้งทางด้านโทรคมนาคมและการแพร่ภาพ เพียงหน่วยงานเดียว อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงาน กสทช. จะต้องหาแนวทางเพื่อให้ข้อมูลที่เผยแพร่เกิดประโยชน์และยุติธรรม โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจของประเทศ และการเสียภาษี รวมถึงเศรษฐกิจโลก ไม่ใช่ปล่อยให้เศรษฐกิจของโลกถูกกำกับโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกไม่กี่บริษัท
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของสมาคมโฆษณาทางดิจิตอล (Digital Advertising Association) คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีการใช้งบประมาณโฆษณาผ่านสื่อดิจิตอลประมาณ 14,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 21 ซึ่งเป็นการโฆษณาผ่านเฟสบุ๊ค และ YouTube ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม วงเงินโฆษณาผ่านทีวีลดลงปีละร้อยละ 10 จาก 2,500 ล้านบาท ในปี 2558 ลดลงเหลือ 2,000 ล้านบาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการโฆษณาผ่านเฟซบุ๊ก ตามด้วยยูทูป ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาผ่านโทรทัศน์ ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี จากมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในโทรทัศน์ 2,500 ล้านบาท ในปี2558 เหลือมูลค่า 2,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ในการหลอมรวมเทคโนโลยี กับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม สู่แพลตฟอร์มออนไลน์รูปแบบใหม่ ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาไหลสู่ช่องทางออนไลน์ และส่วนเป็นเป็นผู้ให้บริการจากต่างประเทศ ซึ่งยังไม่ได้มีการจัดเก็บภาษี ดังนั้นประเทศไทยจึงไม่ได้ประโยชน์ในการนำเงินมาพัฒนาในสังคม
นายฐากร กล่าวอีกว่า หน่วยงานที่กำกับดูแลในแต่ละประเทศจะก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อกำหนดแนวนโยบายที่สนับสนุนต่อการดำเนินธุรกิจ และคุ้มครองผู้บริโภคให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสื่อซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของเทคโนโลยีที่ผลักดันการขยายตัวธุรกิจดิจิทัลได้อย่างไร สิ่งสำคัญเม็ดเงินจากการโฆษณาไหลออกสู่นอกประเทศ ทั้งนี้สำนักงาน กสทช.จึงเสนอให้มีการกำกับดูแลที่เป็นธรรมต่อการแข่งขันทางธุรกิจโดยการจัดเก็บภาษี ผู้ให้บริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ปลายปีนี้ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุม หน่วยงานกำกับดูแลด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะมีการหารือแนวทางในการกำกับดูแลธุรกิจรูปแบบใหม่ในทิศทางเดียวกัน
ขณะเดียวกันประเทศไทยจะเสนอให้มีการจัดเก็บภาษีกิจการโอทีที หรือโอเวอร์เดอะท็อป ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม กับภาษีนิติบุคคล ซึ่งเป็นรูปแบบการกำกับดูแลการจัดเก็บรายได้ แต่ไม่ได้กำกับดูแลในด้านการควบคุมเนื้อหา เนื่องจากความละเอียดอ่อนด้านการกำกับดูแลเนื้อหาในภูมิภาคอาเซียนมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้อัตราการตัดเก็บภาษีกิจการโอทีทีในภูมิภาคอาเซียนอาจแตกต่างกันได้ แต่ไทยเสนอให้มีการจัดเก็บภาษีโอทีทีทุกประเทศในอาเซียน
ข่าวจาก แนวหน้า
Post A Comment: