วิธีการป้องกันภาวะไขมันพอกตับ

           ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) หมายถึง ภาวะที่มีการสะสมของไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ Triglyceride ในเซลล์ตับ กล่าวคือมีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินในร่างกายมากเกินความต้องการจนตับนำไปสร้างเป็นไขมัน (Lipogenesis)


            ในคนปกติระดับน้ำตาลจะถูกควบคุมโดยอินซูลิน (Insulin) ซึ่งผลิตมาจากตับอ่อน (Pancreas) เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น โดยอินซูลินจะออกฤทธิ์ที่ตับ กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมันเพื่อให้ใช้น้ำตาล
            ในภาวะที่ดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) ซึ่งอาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ (Genetic Predisposition) หรือจากพฤติกรรม (Imbalance Lifestyle), การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันมากเกินไป (High Carbohydrate and High Fat Diet) จะทำให้เซลล์ต่าง ๆ ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ เมื่อภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้ตับมีการสะสมไขมันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคนี้ไม่มีน้ำตาลไหนจะอันตรายไปกว่า High Fructose Corn Syrup ที่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนำมาใช้ปรุงแต่งผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มสำเร็จรูปทั้งหลายอันเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดที่นำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับ

จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังมีไขมันพอกตับ


  1. โดยเจาะเลือดดูการทำงานของตับ (Liver Function Test) ว่ามีค่าการอักเสบ (Inflammation) สูงกว่าปกติ หรือไม่ ในคนที่มีภาวะไขมันพอกตับอาจพบระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติร่วมด้วย
  2. การตรวจอัลตราซาวนด์บริเวณช่องท้อง จะพบว่าตับอาจมีขนาดโตขึ้น และมีลักษณะขาวขึ้นเมื่อเทียบกับไตและม้าม
  3. การตรวจวัดไขมันพอกตับจากการ Scan ด้วยเครื่อง (Dexa Scan Whole Body)
  4. Fibroscan เป็นการตรวจความยืดหยุ่นพร้อมกับประเมินไขมันสะสมภายในเนื้อตับเพื่อสำรวจความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการมีไขมันไปพอก

ป้องกันภาวะไขมันพอกตับ


  • ควรลดน้ำหนักโดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหาร​ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง (High Fat) เช่น นม เนย ไอศกรีม เค้ก ชีส กะทิ อาหารทะเล ไข่แดง และเนื่องจาก Triglyceride เป็นตัวสำคัญที่สะสมคั่งในตับก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไปด้วยเช่นกัน  
  • ควรเพิ่มผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชที่มีเมล็ด เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน (Sunflower Seed) เมล็ด ฟักทอง (Pumpkin Seed) งา (Sesame Seed) นอกจากนี้การรับประทานผักบางชนิดยังสามารถช่วยเร่งกระบวนการกำจัดพิษออกจากตับ (Detoxification) ได้ เช่น ผักตระกูลบรอกโคลี กะหล่ำ กระเทียม และ หัวหอม
  • ในส่วนของเนื้อสัตว์ แนะนำให้รับประทานเนื้อที่ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา เน้นทานไขมันที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น น้ำมันมะกอก (Olive Oil) อะโวคาโด (Avocado) น้ำมันปลาโอเมก้า3 (Omega 3 Fish Oil)
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • สมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดทำหน้าที่ช่วยขับสารพิษออกจากตับได้ เช่น Milk Thistle,  Alpha Lipoic Acid (ALA), N-Acetyl-l-Cysteine (NAC)/NAC เป็นสารตั้งต้นของ Glutathione ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญมากที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ช่วยขับพิษออกจากตับ นอกจากนี้ Vitamin B และแมกนีเซียม (Magnesium) ยังมีคุณสมบัติในการช่วยเยียวยาและกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ตับที่เสียหายอีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์


Axact

Axact

Vestibulum bibendum felis sit amet dolor auctor molestie. In dignissim eget nibh id dapibus. Fusce et suscipit orci. Aliquam sit amet urna lorem. Duis eu imperdiet nunc, non imperdiet libero.

Post A Comment: