บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) BTSจัดแถลงข่าว กรณีเกิดเหตุขัดข้องในการเดินรถไฟฟ้ามาตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมาซึ่งส่งผลกระทบต่อการเดินทางของผู้โดยสาร เบื้องต้น BTS คาดการณ์ว่าสาเหตุมาจากการกวนกันของสัญญาณคลื่นวิทยุสื่อสารจากภายนอก
โดยวันนี้ ทาง ดร.อาณัติ อาภาภิรมประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดการ พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ bts นายพิชัย สุวรรณกิจบริหาร ผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม กสทช. นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สายบริษัททีโอทีจำกัด ร่วมกันเปิดเผยว่า หลังการหารือร่วมกันจาก3 ฝ่าย ร่วมถึง บ.ดีแทค สรุปว่าปัญหาอาณัติสัญญาณที่ทำให้ระบบเดินรถ BTS ขัดข้อง เกิดจากมีการรบกวนสัญญาณสื่อสารของสัญญาณโทรคมนาคมย่านความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ ต่อสัญญาณวิทยุซึ่งใช้ในระบบอาณัติสัญญาณ ความถี่ 2400 เมกะเฮิรตซ์ ส่งผลให้การเดินรถล่าช้ากว่าปกติ
โดยนายสุรพงษ์เปิดเผยว่า ในคืนวันศุกร์ที่ 29 นี้ BTS จะติดตั้งอุปกรณ์คลื่นวิทยุสัญญาณmoza(ม็อคซ่า) ให้แล้วเสร็จและจะย้ายคลื่นความถี่ 2400 เมกะเฮิรตซ์ไปอยู่ในคลื่นความถี่ 2500 เมกกะเฮิร์ตเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นความถี่ 2300 เมกกะเฮิร์ต ของบริษัททีโอทีที่ส่งผลต่อการเดินรถของ BTS จากขบวนและ 2 นาทีเป็น 5 ถึง 7 นาที พร้อมระบุว่าล่าสุด บริษัททีโอทีได้ปิดคลื่นความถี่สถานีฐานซึ่งอยู่ตามแนวรถไฟฟ้า BTS ทั้งหมด 10 สถานีไปแล้วเพื่อลดการรบกวน และส่วนของ BTS มีการย้ายคลื่นความถี่แล้วแต่เบื้องต้นจากการทดสอบยังพบว่ามีการรบกวนของสัญญาณมือถืออยู่บ้าง
ทั้งนี้ เมื่อระบบเสร็จสิ้นต้องรอลุ้นในวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคมซึ่งเป็นชั่วโมงเร่งด่วนมีผู้โดยสารจำนวนมาก ว่าจะเดินรถได้ตามปกติหรือไม่ อย่างไรก็ตามบีทีเอสมีการหารือกับศูนย์ ปลอดภัยกระทรวงมัฑณาคม เพื่อหาแนวทางรับมือหากเกิดเหตุขัดข้องอีกเช่นจัดรถเมล์รองรับในชั่วโมงเร่งด่วนตามแนวรถไฟฟ้า ขณะที่มาตรการชดเชยผู้โดยสารช่วงที่เกิดเหตุขัดข้อง นายสุรพงษ์กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายน บัตรประเภท Rabbit Card ทั้งแบบเติมเงินและเติมเที่ยวจะไม่มีการตัดเที่ยวหรือค่าเดินทาง ส่วนประเภทใช้ครั้งเดียวจะสามารถออกจากระบบและเก็บบัตรโดยสารไว้ใช้งานได้ไหมภายใน 14 วันตามมูลค่าเดิม สำหรับการชดเชยกรณีอื่นๆให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการ ในช่วง 3 วันที่ขัดข้อง อยู่ระหว่าง สรุปตัวเลขผู้โดยสารที่เข้ามายังระบบและคืนตั๋วออกจากระบบพร้อมหารือ ก่อนดำเนินการชดเชย แต่จากยอดผู้โดยสารในห้วงเวลาปกติจันทร์ถึงศุกร์จะอยู่ราว 7 แสนคนต่อวัน
ด้านดร.อาณัติ ยอมรับว่ารู้สึกเสียใจที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน BTS ไม่เคยนิ่งนอนใจกับปัญหาดังกล่าว การแก้ไขได้ทำตามคำแนะนำจากกสทช. และ TOT ว่าหลังจากนี้จะต้องตรวจสอบระบบคลื่นความถี่ทั้งหมดที่อาจเข้ามารบกวน ในอนาคต เพื่อไม่ให้กระทบต่อการเดินรถของ BTS สวนนายรังสรรค์ บ.TOT ระบุว่า ขอความร่วมมือพื้นที่โดยรอบที่มีการติดตั้งกล้อง CCTV ตามแนวรถไฟฟ้า BTS ให้ทำการปรับกำลังส่งสัญญาณให้ลดความเข้มของสัญญาณลงเพื่อลดการรบกวน โดยยืนยันว่าสัญญาณ WiFi และสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่ได้มีผลกระทบกับคลื่น 2400 ที่ BTS ใช้แต่อย่างใด
โดยวันนี้ ทาง ดร.อาณัติ อาภาภิรมประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดการ พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ bts นายพิชัย สุวรรณกิจบริหาร ผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม กสทช. นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจสื่อสารไร้สายบริษัททีโอทีจำกัด ร่วมกันเปิดเผยว่า หลังการหารือร่วมกันจาก3 ฝ่าย ร่วมถึง บ.ดีแทค สรุปว่าปัญหาอาณัติสัญญาณที่ทำให้ระบบเดินรถ BTS ขัดข้อง เกิดจากมีการรบกวนสัญญาณสื่อสารของสัญญาณโทรคมนาคมย่านความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ ต่อสัญญาณวิทยุซึ่งใช้ในระบบอาณัติสัญญาณ ความถี่ 2400 เมกะเฮิรตซ์ ส่งผลให้การเดินรถล่าช้ากว่าปกติ
โดยนายสุรพงษ์เปิดเผยว่า ในคืนวันศุกร์ที่ 29 นี้ BTS จะติดตั้งอุปกรณ์คลื่นวิทยุสัญญาณmoza(ม็อคซ่า) ให้แล้วเสร็จและจะย้ายคลื่นความถี่ 2400 เมกะเฮิรตซ์ไปอยู่ในคลื่นความถี่ 2500 เมกกะเฮิร์ตเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นความถี่ 2300 เมกกะเฮิร์ต ของบริษัททีโอทีที่ส่งผลต่อการเดินรถของ BTS จากขบวนและ 2 นาทีเป็น 5 ถึง 7 นาที พร้อมระบุว่าล่าสุด บริษัททีโอทีได้ปิดคลื่นความถี่สถานีฐานซึ่งอยู่ตามแนวรถไฟฟ้า BTS ทั้งหมด 10 สถานีไปแล้วเพื่อลดการรบกวน และส่วนของ BTS มีการย้ายคลื่นความถี่แล้วแต่เบื้องต้นจากการทดสอบยังพบว่ามีการรบกวนของสัญญาณมือถืออยู่บ้าง
ทั้งนี้ เมื่อระบบเสร็จสิ้นต้องรอลุ้นในวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคมซึ่งเป็นชั่วโมงเร่งด่วนมีผู้โดยสารจำนวนมาก ว่าจะเดินรถได้ตามปกติหรือไม่ อย่างไรก็ตามบีทีเอสมีการหารือกับศูนย์ ปลอดภัยกระทรวงมัฑณาคม เพื่อหาแนวทางรับมือหากเกิดเหตุขัดข้องอีกเช่นจัดรถเมล์รองรับในชั่วโมงเร่งด่วนตามแนวรถไฟฟ้า ขณะที่มาตรการชดเชยผู้โดยสารช่วงที่เกิดเหตุขัดข้อง นายสุรพงษ์กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 28-29 มิถุนายน บัตรประเภท Rabbit Card ทั้งแบบเติมเงินและเติมเที่ยวจะไม่มีการตัดเที่ยวหรือค่าเดินทาง ส่วนประเภทใช้ครั้งเดียวจะสามารถออกจากระบบและเก็บบัตรโดยสารไว้ใช้งานได้ไหมภายใน 14 วันตามมูลค่าเดิม สำหรับการชดเชยกรณีอื่นๆให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการ ในช่วง 3 วันที่ขัดข้อง อยู่ระหว่าง สรุปตัวเลขผู้โดยสารที่เข้ามายังระบบและคืนตั๋วออกจากระบบพร้อมหารือ ก่อนดำเนินการชดเชย แต่จากยอดผู้โดยสารในห้วงเวลาปกติจันทร์ถึงศุกร์จะอยู่ราว 7 แสนคนต่อวัน
ด้านดร.อาณัติ ยอมรับว่ารู้สึกเสียใจที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน BTS ไม่เคยนิ่งนอนใจกับปัญหาดังกล่าว การแก้ไขได้ทำตามคำแนะนำจากกสทช. และ TOT ว่าหลังจากนี้จะต้องตรวจสอบระบบคลื่นความถี่ทั้งหมดที่อาจเข้ามารบกวน ในอนาคต เพื่อไม่ให้กระทบต่อการเดินรถของ BTS สวนนายรังสรรค์ บ.TOT ระบุว่า ขอความร่วมมือพื้นที่โดยรอบที่มีการติดตั้งกล้อง CCTV ตามแนวรถไฟฟ้า BTS ให้ทำการปรับกำลังส่งสัญญาณให้ลดความเข้มของสัญญาณลงเพื่อลดการรบกวน โดยยืนยันว่าสัญญาณ WiFi และสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่ได้มีผลกระทบกับคลื่น 2400 ที่ BTS ใช้แต่อย่างใด
Post A Comment: