นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย เปิดเผยว่า จากการศึกษาพฤติกรรมการทางการเงินของคนไทยจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า โดยเฉลี่ยคนไทยมีการใช้จ่ายถึง 76.2% ของรายได้ทั้งหมด มีการออมเงิน 20.4% แบ่งเป็นเงินลงทุน 18.0% และเงินฝาก 2.04% และการประกันความเสี่ยง เช่น การทำประกัน ราว 3.4% ทั้งนี้ พบว่าส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นสูงถึง 1 ใน 4 ของรายได้ต่อเดือน โดยราว 74% หรือ 20,840 บาท โดยส่วนใหญ่เป็นสินอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น อาหารและเครื่องดื่ม ของใช้ส่วนตัว และค่าเดินทาง ส่วนอีก 26% หรือ 7,425 บาท เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ได้แก่ รับประทานอาหารนอกบ้าน 6,021 บาท สุรา 530 บาท โดยคนไทยบริโภคสุราเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย หรือราว 8.3ลิตรต่อคนต่อปี บุหรี่ 235 บาท โดยคนไทยที่สูบบุหรี่มีกว่า 12.2 ล้านคน คิดเป็น 22%ของประชากรอายุมากกว่า 15 ปี และหวย 433 บาท ซึ่งพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยเป็นสาเหตุของรอยรั่วเงินออม และการขาดวินัยในการออมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยมีเงินออมไม่พอเพียง
“ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทย ที่สำคัญคือไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปเน้นความสะดวกสบายและรวดเร็ว ติดหรู เช่น ทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น เน้นสถานที่บรรยากาศดี ชิลชิล ชิคชิค และนิยมเสพโซเชียลมีเดีย แชท แชร์ เพิ่มขึ้น ทำให้มีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่สูงขึ้น เพื่อให้ไลฟ์สไตล์ดูดี หรือโดยรวมคือ เห่อกินเที่ยว-Social Social มาก่อน-ออมทีหลัง” นายนริศกล่าว
ประชาชาติธุรกิจ
“ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทย ที่สำคัญคือไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปเน้นความสะดวกสบายและรวดเร็ว ติดหรู เช่น ทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น เน้นสถานที่บรรยากาศดี ชิลชิล ชิคชิค และนิยมเสพโซเชียลมีเดีย แชท แชร์ เพิ่มขึ้น ทำให้มีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่สูงขึ้น เพื่อให้ไลฟ์สไตล์ดูดี หรือโดยรวมคือ เห่อกินเที่ยว-Social Social มาก่อน-ออมทีหลัง” นายนริศกล่าว
ประชาชาติธุรกิจ
Post A Comment: